โครงการคุ้มครองบุคคลสำคัญ (Keyman Insurance)
คุณเคยประเมินความเสียหายหากสูญเสียบุคคลสำคัญของบริษัทหรือไม่
หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันทำให้สูญเสียบุคคลสำคัญของบริษัท ทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องทางธุรกิจ อาจร้ายแรงจนถึงขั้นต้องเลิกกิจการ มากไปกว่านั้นอาจส่งผลกระทบเสียหายต่อโครงการต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน จนทำให้เกิดคดีฟ้องร้อง เกิดความเสียหายมากเกินกว่าจะชดเชยความเสียหายได้
การประเมินถึงผลกระทบความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากขาดบุคคลสำคัญขององค์กรไป ยกตัวอย่าง บุคคลสำคัญท่านหนึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กิจการปีละ 10 ล้านบาท หากขาดบุคคลนี้ไปกิจการจะสูญเสียรายได้ปีละ 10 ล้านบาทเช่นกัน มีผลทำให้ผลการดำเนินงานโดยรวมขาดสภาพคล่อง ลุกลามไปถึงค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องชำระในแต่ละเดือน เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าสาธารณูปโภค หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่มีภาระผูกพัน
ใครบ้างที่เป็นบุคคลสำคัญ
พิจารณาคำถามต่อไปนี้ เพื่อระบุว่าใครคือบุคคลสำคัญของบริษัท
- หากองค์กรขาดคนคนนี้ จะทำให้กิจการดำเนินการต่อไปไม่ได้ ใช่หรือไม่
- หากองค์กรขาดคนคนนี้ จะทำให้กิจการขาดรายได้ของกิจการ ใช่หรือไม่
- หากองค์กรขาดคนคนนี้ จะทำให้กิจการขาดความรู้และทักษะในการดำเนินกิจการ ใช่หรือไม่
ตัวอย่างบุคคลสำคัญขององค์กร เช่น กรรมการบริษัท ผู้บริหารโครงการ บุคลากรฝ่ายขายคนสำคัญ ผู้มีความสามารถเฉพาะอย่าง
วิธีบริหารความเสี่ยง
คำถามสำคัญคือ หากเกิดภัยแล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นและทำอย่างไรให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ เมื่อเราประเมินมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแล้ว เราจึงกำหนดวิธีการบางอย่างเพื่อให้กิจการของคุณสามารถดำเนินการต่อไปได้ ความเสียหายบางอย่างจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้เงินสดในบัญชีของบริษัทจัดสรรเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องเผื่อเหตุการฉุกเฉิน หรืออาจใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อโอนความเสี่ยงโดยการใช้การประกันภัยเข้ามาช่วย ข้อดีของการใช้กรมธรรม์ประกันชีวิตและประกันภัยมาช่วยโอนความเสี่ยงคือสามารถกำหนดงบประมาณได้อย่างชัดเจนเพื่อสร้างวงเงินความคุ้มครองที่เราเลือกได้
เราไม่อาจห้ามการเกิดภัยและความเสียหาย แต่เรามีแผนเตรียมพร้อมเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ความเสี่ยงของชีวิตบุคคลสำคัญ
ความเสี่ยงของเมื่อเกิดโรคร้ายแรง
ความเสี่ยงที่บุคคลสำคัญจะลาออกจากบริษัท
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นหากขาดบุคคลสำคัญ
- การสูญเสียลูกค้าของกิจการ ซึ่งหมายถึงยอดขายของกิจการที่เกิดจากความสามารถของบุคคลกรฝ่ายขายคนสำคัญหรือจากการขาดผู้บริหาร กรรมการบริษัทที่ได้รับความเชื่อถือจากบริษัทคู่ค้า
- การสูญเสียทักษะที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินงาน รวมถึงต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการสรรหาบุคลากรใหม่หรือฝึกอบรมบุคลากรขึ้นมาเพื่อทดแทน
- ผลกระทบด้านความล่าช้าของโครงการสำคัญหรือความจำเป็นต้องยกเลิกโครงการที่บุคคลขององค์กรสำคัญรับผิดชอบอยู่
- การสูญเสียโอกาสในการขยายธุรกิจในอนาคต
- ความเสียหายจากความน่าเชื่อถือทางการเงิน เมื่อสถาบันการเงินให้สินเชื่อจากความน่าเชื่อถือของบุคคลสำคัญ
Keyman Insurance ประกันชีวิตเพื่อบุคคลสำคัญขององค์กร
การทำประกันชีวิตให้บุคคลสำคัญขององค์กร เป็นการสร้างความมั่นคงและเป็นหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อปกป้องทรัพย์สินและหนี้สินของกิจการ พร้อมได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างถูกต้อง สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ 100% เป็นค่าใช้จ่ายที่มีกฎหมายรองรับและเป็นที่ยอมรับของกรมสรรพากร การทำประกันคุ้มครองบุคคลสำคัญจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารค่าใช้จ่ายของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำประกัน Keyman ในมุมมองการบริหารค่าใช้จ่ายเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
หากเราตั้งคำถามว่า เราจะสร้างค่าใช้จ่ายอย่างไรให้ไม่สูญค่าและเป็นประโยชน์ทางภาษี เราอยากให้คุณพิจารณาเรื่องการทำประกัน Keyman เพื่อเป็นการนำเงินของบริษัทมาเปลี่ยนเป็นรายจ่ายที่ไม่สูญเปล่า สามารถสร้างความคุ้มครองและเป็นเงินออมให้เกิดผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าแก่บุคคลสำคัญ โดยค่าเบี้ยประกันที่บริษัทชำระให้นั้นถือเป็นรายจ่ายของบริษัทที่จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ทั้ง 100% อย่างถูกต้องตามหลักบัญชีและกฎหมายประมวลรัษฎากรทุกประการ สำหรับผลตอบแทนที่ได้รับจากกรมธรรม์ประกันชีวิตนั้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในนามบุคคลธรรมดา เหมาะสำหรับบริษัทที่มีกำไรสูงเสียภาษีมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากรายได้ของบริษัทมากแต่มีค่าใช้จ่ายน้อย ทำให้เกิดกำไรสุทธิก่อนหักภาษีมากหรือมีกำไรสุทธิสูงเกินไปจึงมีผลทำให้เสียภาษีมากในที่สุด
บางบริษัทพยายามบริหารค่าใช้จ่ายหรือสร้างค่าใช้จ่ายโดยการนำใบเสร็จที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมาบันทึกบัญชี เมื่อมีการสอบบัญชีหรือถูกตรวจสอบโดยกรมสรรพากรแล้วใบเสร็จที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจะโดนตีกลับ หรือที่เรามักเรียกว่า ใบเสร็จตีกลับ ภาษีบวกกลับ ใบเสร็จใช้หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ เป็นรายจ่ายต้องห้าม มักจะพบมากในบริษัทที่ขาดการวางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพทำให้บริหารค่าใช้จ่ายไม่ทัน หรือหาใบเสร็จมาบันทึกค่าใช้จ่ายไม่ทัน ภาษีเงินได้เราวางแผนได้ง่ายมากถ้าเราใส่ใจเรื่องค่าใช้จ่าย
นักลงทุนที่ชาญฉลาดจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่าไม่เลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เสื่อมค่าเสื่อมราคาในเมื่อเราเลือกบริหารค่าใช้จ่ายได้ เราจะเลือกค่าใช้จ่ายแบบไหน
หากบริษัทของคุณมีความต้องการ
- ลดปัญหาเรื่องรายจ่ายต้องห้ามทางภาษี
- ลดภาระทางภาษีขององค์กร
- สร้างความคุ้มครองบุคคลสำคัญอันเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร
- สร้างรายจ่ายถูกต้องตามกฎหมายโดยไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13)
- สร้างความคุ้มครองการค้ำประกันเงินกู้ธนาคารของกรรมการ
- รับผลตอบแทนที่ได้รับจากกรมธรรม์ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- รับสิทธิทางภาษีทั้งนิติบุคคล (ถือเป็นรายจ่ายของบริษัท) และบุคคลธรรมดา (นำมาลดหย่อนภาษีได้)
การทำประกัน Keyman ให้บุคคลสำคัญช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้บริษัทของคุณได้
- เป็นค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลได้ 100%
- คุ้มครองกรรมการตลอดอายุสัญญากรมธรรม์
- ผลตอบแทนทางการเงินจากรมธรรม์ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- เป็นการบริหารภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องเสียไปทั้งหมดคืนมาบางส่วน
ปรึกษาเรา รับข้อมูลรายละเอียด ถามตอบคำถาม แล้วค่อยพิจารณา
บริการให้คำปรึกษาก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับคำปรึกษา หากสนใจรับคำปรึกษาโปรดกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์ม แล้วเราจะติดต่อกลับเพื่อนัดหมายให้บริการต่อไป
สรุปข้อกฎหมายและประมวลรัษฎากรที่น่าสนใจ
มาตรา ๖๕ ตรี (๓) และ (๑๓) แห่งประมวลรัษฎากร
ค่าเบี้ยประกันชีวิตของกรรมการไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม
เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตของกรรมการหรือพนักงานที่บริษัทนายจ้างจ่ายแทนนั้น หากเป็นกรณีที่บริษัทนายจ้างต้องจ่ายให้แก่กรรมการหรือพนักงานทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบสวัสดิการของบริษัทนายจ้างเพื่อผลประโยชน์ของบริษัทนายจ้างแล้ว การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าว จึงเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา บริษัทนายจ้างมีสิทธินำเบี้ยประกันที่ออกให้นั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้าม
มาตรา ๔๘(๑) และมาตรา ๕๖ แห่งประมวลรัษฎากร
เบี้ยประกันชีวิตที่นายจ้างจ่ายแทนถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทนายจ้างจ่ายแทนพนักงานเข้าลักษณะเป็นประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานต้องนำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มาตรา ๖๕ ตรี (๖) แห่งประมวลรัษฎากร
เงินค่าภาษีที่นายจ้างออกให้ถือเป็นรายจ่ายโดยตรงกับกิจการ
เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทออกให้ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้าม
มาตรา ๔๒(๑๓) แห่งประมวลรัษฎากร
ผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิตได้รับการยกเว้นภาษี
ผลประโยชน์ที่กรรมการหรือพนักงานผู้เอาประกันภัยหรือทายาทได้รับตามกรมธรรม์ประกันชีวิตแล้วแต่กรณี เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ข้อหารือและข้อวินิจฉัยกรมสรรพากร
ข้อหารือเลขที่ กค ๐๘๑๑/๔๐๘
เรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ
ข้อหารือเลขที่ กค ๐๗๐๒/๕๒๓๘
เรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือเลขที่ กค ๐๗๐๖/๔๒๒๗
เรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ
ข้อหารือเลขที่ กค ๐๗๐๖/๕๓๓๔
เรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต
ข้อหารือเลขที่ กค ๐๗๐๒/๙๓๕๘
เรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
ข้อหารือเลขที่ กค ๐๗๐๖/๑๒๓๖๕
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อ